"เค้กแต่งงาน" เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12-15 ในสมัยโรมัน ในยุคนั้นไม่มีการทำเค้กอลังการตามแบบที่เห็นกันในปัจจุบัน ผู้ร่วมงานจะบิขนม ปังออกเหนือศีรษะ ตามความเชื่อที่ว่าจะนำโชคมาให้คู่บ่าวสาวใหม่ บางครั้งก็จะโปรยบนศีรษะของเจ้าสาวด้วย แต่โดยปกติแล้วจะทำบนศีรษะของเจ้าบ่าวเป็นส่วนใหญ่ โดยเค้กจะวางบนพื้น แทนความโชคดีและอุดมสมบูรณ์ บางครั้งก็หมายถึงความโชคดีของแขกที่มาในงานแต่งงาน
ในยุคกลาง เค้กแต่งงานค่อนข้างเรียบง่าย มีเพียงบิสกิตกับ ขนมสโคน แขกที่มางานจะนำเค้กก้อนเล็กๆ มามอบให้คู่บ่าวสาว และเมื่อมากเข้าก็นำมาวางเรียงสูงขึ้นๆ โดยที่คู่บ่าวสาวจะต้องจูบกันเหนือกองตั้งเค้กกองนั้น ตามความเชื่อที่ว่าจะนำความโชคดีให้กับชีวิตสมรสใหม่ของทั้งคู่
ต่อมาในคริสตศตวรรษที่ 17 เป็นจุดเริ่มต้นของเค้กแต่งงาน รูปแบบใหม่ที่หน้าตาคล้ายกับเค้กแต่งงานในปัจจุบัน เนื่องจากช่างทำขนมปังชาวฝรั่งเศสอบขนมปังเป็นก้อนโรยด้วยน้ำตาลไอซิ่ง และยังนิยมวางเค้กเป็นชั้นๆ ตกแต่งหน้าเค้กด้วยน้ำตาล
เค้กแต่งงานส่วนใหญ่มีขนาดใหญ่ เรียงเป็นชั้นๆ ตกแต่งอย่างสวยสดงดงามด้วยครีมและน้ำตาลแต่งหน้าเค้ก ส่วนยอดของขนมเค้กนั้นมักประดับด้วยตุ๊กตาแทนตัวบ่าวสาว หรืออาจใช้เป็นรูปนก รูปแหวนทอง หรือรูปเกือกม้า สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดีและความเจริญรุ่งเรืองสำหรับคู่บ่าวสาว
เนื้อเค้กแต่งงานที่ดีจะต้องมีเนื้อแน่นเพื่อรองรับน้ำหนักของชั้นเค้กที่ตกแต่งอย่างสวยงาม ที่สำคัญยังต้องรับประทานได้และอร่อยด้วย ซึ่งต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ของพ่อครัวเป็นสำคัญ
การตัดเค้กมีขั้นตอน เจ้าสาวจะตัดเค้กสองชิ้นแรกโดยเจ้าบ่าววางมือของเขาบนมือเจ้าสาว จากนั้นเจ้าบ่าวจะป้อนเค้กชิ้นแรกให้เจ้าสาว และเจ้าสาวจะป้อนเค้กชิ้นที่สองให้เจ้าบ่าว เป็นการสื่อว่าทั้งคู่จะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
หลังตัดเค้กแต่งงานเป็น ชิ้นๆแล้ว ฝ่ายบ่าวสาวจะแบ่งเค้กเหล่านั้นให้ผู้ที่มาร่วมพิธีได้รับประทานกัน ซึ่งอาจจะรับประทานเลยหรือนำกลับบ้านไปฝากบุคคลที่ไม่ได้มาร่วมงานก็ได้
ในประเพณีโบราณ เชื่อว่าหากเพื่อนเจ้าสาวคนไหนอยากฝันเห็นเนื้อคู่ของตนในอนาคต ให้นำเค้กแต่งงานไปไว้ใต้หมอนหรือข้างหมอนแล้วนอนหลับ สาวคนนั้นจะฝันเห็นคู่ชีวิตของตน
เค้กแต่งงานบางส่วนจะเก็บรักษาไว้รับประทานในวันฉลองครบรอบแต่งงานในปีถัดๆ ไป บางส่วนใช้ฉลองในวันที่คลอดลูกคนแรก แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้ในพิธีตั้งชื่อบุตรตามหลักคริสต์ศาสนา ส่วนใหญ่จะเก็บชั้นบนสุดของเค้กที่มักจะตกแต่งด้วย ผลไม้ซึ่งสามารถเก็บรักษาเอาไว้ได้เป็นระยะเวลานานด้วยการแช่แข็ง
ขอบคุณภาพประกอบจาก sanook.com และ most.go.th
ที่มา http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakExTURVMU5BPT0=§ionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE1TMHdOUzB3TlE9PQ==
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น